HR ต้องรู้ ! เช็คประวัติอาชญากรรม ลดความเสี่ยง ก่อนรับเข้าทำงาน

Blog Image
  • Admin
  • 09 MAY 2024

HR ต้องรู้ ! เช็คประวัติอาชญากรรม ลดความเสี่ยง ก่อนรับเข้าทำงาน

HR ต้องรู้ ! เช็คประวัติอาชญากรรม ลดความเสี่ยง ก่อนรับเข้าทำงาน

การรับพนักงานใหม่เข้ามาทำงานถือเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับองค์กร ดังนั้น HR จำเป็นต้องคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสม ทักษะตรงกับความต้องการ และที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นบุคคลที่ไว้ใจได้ การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม บทความนี้ทางเราบุคคล .com จะมาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไม HR จำเป็นต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อนรับพนักงานเข้าทำงาน

เหตุผลที่ควรตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อนรับพนักงานเข้าทำงาน
1. ความปลอดภัยของพนักงาน
เมื่อมีพนักงานใหม่ที่ไม่เคยรู้จักเข้ามา เป็นเรื่องปกติที่พนักงานคนอื่นจะไม่มั่นใจในบุคคลนั้น การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อนนั้นเป็นเหมือนการกรองอีกชั้นนึงว่าคนที่เข้ามาทำงานจะไม่เป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมงาน
2. ป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน
การจ้างงานบุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการลักขโมย การฉ้อโกง หรือการยักยอกทรัพย์ อาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่องค์กรจะสูญเสียทรัพย์สิน การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้
3. รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร
การจ้างพนักงานที่เคยมีประวัติอาชญากรรมร้ายแรงเข้ามาทำงาน อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในแง่ลบ ลูกค้า หรือ คู่ค้า อาจสูญเสียความเชื่อมั่น อาจถึงขั้นเสียโอกาสทางธุรกิจได้เลย
4. ประเมินความเสี่ยง
การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมจะช่วยให้ HR สามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากจ้างพนักงานคนนั้น ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน

คดีแบบไหนบ้างที่ไม่ควรรับเข้าทำงานเด็ดขาด!
1. ลักทรัพย์หรือทุจริต: พนักงานที่เคยลักทรัพย์หรือทุจริต แสดงถึงความไม่ซื่อสัตย์ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อบริษัททั้งด้านการเงินและชื่อเสียง หากเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเงินยิ่งไม่ควรรับคนแบบนี้เข้ามาทำงานเด็ดขาด
2. ขายข้อมูลลูกค้า: การขายข้อมูลลูกค้าเป็นการละเมิดความลับ  ส่งผลเสียร้ายแรงต่อบริษัท  โดยเฉพาะในยุคที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล PDPA 
3. ทำร้ายร่างกายหรือทะเลาะวิวาท: ความรุนแรงในที่ทำงานไม่เป็นที่ยอมรับ  อาจส่งผลเสียต่อพนักงานคนอื่น บรรยากาศในบริษัท และภาพลักษณ์องค์กร กรณีร้ายแรงที่สุดหากพนักงานทำร้ายร่างกายหรือทะเลาะกับลูกค้าของบริษัท ย่อมไม่เป็นผลดีแน่นอน
4. เมาแล้วขับ: แสดงถึงการขาดจิตสำนึกต่อสังคม ฝ่ายบุคคลต้องระมัดระวังบุคคลประเภทนี้ เพราะคนประเภทนี้จะเห็นแก่ตัวเองเป็นหลัก ไม่นึกถึงผลเสียที่ตามมา ในกรณที่เป็นพนักงานเราแล้วเกิดเรื่องแบบนี้ ก็จะทำให้เกิดชื่อเสียงแย่ๆกับบริษัท แม้ว่าจะเป็นนอกเวลางาน แต่ก็มีโอกาสที่พนักงานยังคงใส่ชุดยูนิฟอร์มของบริษัทอยู่
5. ล่วงละเมิดทางเพศ: องค์กรที่ดีควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน  การล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ อาจส่งผลเสียต่อทั้งผู้ถูกกระทำและภาพลักษณ์องค์กร

การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครก่อนรับพนักงานเข้าทำงาน  เป็นสิ่งที่ HR ควรทำเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน  ลูกค้า  และองค์กร  ช่วยป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน  รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร  ปฏิบัติตามกฎหมาย  และประเมินความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม  HR ควรคำนึงถึงหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เก็บรักษาข้อมูลประวัติอาชญากรรมอย่างรัดกุม  เปิดเผยข้อมูลเฉพาะที่จำเป็น  และปฏิบัติต่อผู้สมัครด้วยความเป็นธรรม